หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

5 ปัญหาเน็ตหลุด สะดุดที่ตรงไหน ตรวจสอบได้ด้วยตัวคุณเอง

  ครั้งก่อนทางกองบรรณาธิการเว็บไซต์ arip ได้นำเสนอบทความเรื่อง "5 วิธีง่ายๆ ในการเพิ่มสัญญาณ Wi-Fi ในบ้านของคุณ" มาวันนี้ เรามีบทความเกี่ยวกับปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตที่พบกับคุณผู้อ่านได้ทุกท่าน นั่นก็คือ ปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet connection problem) ที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้ใช้ได้เสมอ


แทน ที่เอะอะอะไรก็จะใช้วิธีกดปุ่ม F5 เพื่อรีเฟรชบราวเซอร์ให้โหลดหน้าเว็บที่อยู่ดีๆ โหลดไม่ขึ้นซะงั้น ซึ่งบางทีปัญหามันไม่ใช่แค่ที่คุณเห็น เพราะการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าสู่ อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีแค่การต่อสายอีเธอร์เน็ต หรือเปิดสวิตช์ Wireless บนโน้ตบุ๊ก แล้วทุกอย่างจะเรียบร้อย บทความนี้จะแนะนำการตรวจสอบต้นตอของปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในระหว่าง ที่ใช้งาน เพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง แน่นอนว่า สิ่งแรกที่คุณต้องเช็คก่อนเลย เวลาที่เน็ตใช้การไม่ได้ คือ การเชื่อมต่อของฮาร์ดแวร์ เริ่มต้นที่สายเคเบิ้ลที่ต่อกับคอมพ์ ไปจนถึงปลั๊กเสียบเราท์เตอร์ที่ใครอาจเผลอไปเตะมันหลุดแล้วคุณไม่รู้ หรือมี มือดีไปปิดสวิทช์เพราะเห็นมันเปิดนานแล้ว - -" หากการเชื่อมต่อเน็ตของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ปกติดีแล้ว ไม่มีหลุด หรือปิดสวิตช์ แต่อย่างใด ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการตรวจสอบปัญหาการเชื่อมต่อ ซึ่งมีคำสั่ง และวิธีการที่น่าสนใจดังนี้
Ping ดูว่า"เน็ต"ยังอยู่หรือไม่? หาก การเชื่อมต่อทุกอย่างเรียบร้อยดี ขั้นตอนต่อมาก็คือ การตรวจสอบการเชื่อมต่อของเน็ตจากบ้านคุณด้วยคำสั่ง Ping เริ่มต้นด้วยการเปิดหน้าต่าง command คลิกปุ่ม Start พิมพ์ cmd แล้วกดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ด จากนั้นในหน้าต่าง cmd พิมพ์คำสั่ง ping ตามด้วยชื่อเว็บไซต์่ อย่างเช่น ping arip.co.th หรือ ping google.com เป็นต้น 

คำสั่งนี้จะเป็นการบอกให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเน็ตทดลองส่ง แพ็คเก็ตของข้อมูล ไปยังแอดเดรสของเว็บไซต์ที่คุณระบุ ซึ่งทางเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ arip หรือ google ก็จะตอบสนองแต่ละแพคเก็ตของข้อมูลที่มันได้รับ โดยจากในภาพข้างบนนี่้จะเเห็นว่า ทุกอย่างทำงานปกติ แพคเก็ตที่รับไม่ได้ (packet loss) มี 0% ในขณะที่เวลาตอบสนองแต่ละแพคเก็ต (time=?ms) ค่อนข้างต่ำ
หากคุณผู้อ่านใช้คำสั่ง Ping แล้วพบว่า packet loss ไม่ใช่  0% ซึ่งหมายถึง เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่คุณติดต่อเข้าไปไม่ตอบสนองแพ็คเก็ตใด แพ็คเก็ตหนึ่งที่ถูกส่งไป นั่นหมายความว่า มันมีปัญหาการเชื่อมต่อกับเน็ตอย่างไม่ต้องสงสัย หรือบางทีเว็บเซิร์ฟเวอร์ใช้เวลาตอบสนองช้ามาก นี่ก็เป็นปัญหาการเชื่อมต่อเหมือนกัน นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดกับเว็บไซต์บางแห่งเท่านั้น (จากในรูปจะเห็นว่า คำสั่ง ping microsoft.com เว็บเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์จะไม่ตอบสนองคำสั่งนี้ ในขณะที่การเชื่อมต่อไม่ได้มีปัญหา - -") หรือบางทีปัญหาอาจเกิดกับ ISP ทีคุณใช้บริการ (ลิงค์ขาด, ซ่อมบำรุง ฯลฯ) ลองโทรสอบถามทางผู้ให้บริการ หรือเกิดกับเครือข่ายในบ้านคุณเอง (เราท์เตอร์ ได้ลาจากโลกไปแล้ว ถึงจะต่อเคเบิ้ล ตรงๆ ก็ยังเข้าเน็ตไม่ได้อยู่ดี แต่เพื่อนข้างบ้านที่ใช้ ISP เดียวกัน ท่องเน็ตฉลุย)
เว็บไซต์เจ้าปัญหา หากตรวจสอบด้วยคำสัง Ping แล้วพบว่า มันปกติ แต่กลับพบปัญหาเข้าเว็บไซต์บางแห่งไม่ได้ ซึ่งบางทีมันอาจเป็นปัญหาที่เว็บไซต์เอง อย่ากังวลจนเกินไป ในการตรวจสอบว่า เว็บไซต์ที่คุณต้องการเข้าไปนั้นยังปกติดี หรือไม่? คุณสามารถดาวน์โหลดเครื่องมืออย่างDown For Everyone Or Just For Me(แปล ตรงตัวว่า เว็บไซต์นี้ดาวน์กับทุกคน หรือแค่คุณคนเดียว) ซึ่งมันจะพยายามเชื่อมต่อเว็บไซต์ และสรุปว่า มันดาวน์ หรือไม่? หาเครื่องมือตัวนี้บอกว่ามันดาวน์กับทุกคน ปัญหาก็อยู่ที่เว็บไซต์ไม่ใช่คุณ แต่ถ้าเครื่องมือตัวนี้บอกว่า มันดาวน์เฉพาะเครื่องของคุณเท่านั้น มันมีความเป็นไปได้ว่า เกิดปัญหา ระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับเส้นทางการเข้าถึงระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณกับ เซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ งานนี้ให้ใช้คำสั่ง Traceroute โดยในหน้าต่าง command พิมพ์คำสั่ง tracert cannotvistsite.com เพื่อดูว่า เส้นทางการส่งแพ็คเก็ตข้อมูลอาจมีปัญหา อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะทำอะไรได้ไม่มากไปกว่า รอให้เว็บไซต์ดังกล่าวแก้ไขปัญหานี้

โมเด็ม กับเราท์เตอร์ หากคุณพบว่า มีปัญหาในการเข้าถึงเว็บไซต์หลายๆ แห่ง ปัญหาอาจเกิดจากโมเด็ม หรือเราท์เตอร์ของคุณ โมเด็มในที่นี้คือ อุปกรณ์ที่ใช้สื่อสารกับ ISP ในขณะที่เราท์เตอร์จะทำหน้าที่แชร์การเชื่อมต่อเน็ตกับคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง หรืออุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านคุณ แต่ส่วนใหญ่โมเด็มกับเราท์เตอร์จะเป็นตัวเดียวกัน วิธีสังเกตง่ายๆ ก็คือ ถ้า LED สีเขียวบนบนตัวมันกระพริบๆ ถี่บ้าง ช้าบ้าง ในขั้นต้นก็น่าจะปกติ เพราะมันแสดงให้เห็นว่ามีแทรฟฟิกกับเน็ตเวิร์ก แต่ถ้าสว่างนิ่ง หรือมีสีส้มกระพริบๆ โดยทั่วไปก็จะหมายถึง มันมีปัญหา ข้อสังเกตนี้ได้ใช้กับทั้งเราท์เตอร์ และโมเด็ม หากพบปัญหาลักษณะนี้ ทำใจดีสู้เสือด้วยการถอดปลั๊กนับในใจสัก  5 -10 วินาทีแล้วเสียบปลั๊กเปิดให้มันเริ่มต้นทำงานใหม่ การทำเช่นนี้จะคล้ายๆ กับการรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ ถ้าทำแล้วยังไม่หายอีก ลอง reset (ดูคู่มือ) เราท์เตอร์ (ส่วนใหญ่จะเป็นช่องเล็กๆ ให้ใช้หัวปากกากด) ถ้าคุณยังคงเจอปัญหาอีก ขั้นต่อไปอาจจะต้องลองใช้ Factory Reset (การรีเซ็ตเครื่องเหมือนเพิ่งถอยออกมาจากโรงงานผลิต) ให้กับเราท์เตอร์ของคุณ หรือแม้แต่อัพเกรดเฟิร์มแวร์ ถ้าทำทั้งหมดนี้แล้วยังไม่ได้ ยกไปซ่อม หรือซื้อใหม่ดีกว่า


ปัญหาเกิดกับคอมพ์เครื่องเดียว ใน กรณีที่ต่อเน็ตกับคอมพ์หลายเครื่อง แต่ปัญหาเกิดกับคอมพ์เครื่องเดียวบนเน็ตเวิร์ก โอกาสของปัญหาอาจจะเกิดจาก ซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ไวรัส หรือมัลแวร์บางอย่าง หรือการตั้งค่าบราวเซอร์ที่ใช้ หากแต่เดิมปกติดีหมด แล้วจู่ๆ มันก็เข้าเน็ตไม่ได้ขึ้นมา สังหรณ์ไว้ก่อนว่า มันเกิดจากไวรัส ให้คุณลองสแกนไวรัสบนคอมพิวเตอร์ทีมีปัญหา แต่ถ้าแก้แล้วยังไม่เวิร์กอีกให้ลองใช้บราวเซอร์ตัวอื่นท่องเว็บไซต์ดู ปัญหาซอฟต์แวร์สามารถเกิดได้ตั้งแต่การติดไวรัสไปจนถึงการตังค่าต่างๆ อย่างเช่น ไฟร์วอลล์ ที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ตั้ง - -"
ปัญหา DNS Server ปกติการเชื่อมต่อเน็ตท่องเว็บ เวลาที่คุณใช้บราวเซอร์ต่อเข้าไปยังเว็บไซต์อย่างเช่น arip.co.th คอมพิวเตอร์ของคุณจะมีการเชื่อมต่อไปยังเซอร์ฟเวอร์ DNS (Domain Name System) เพือร้องขอหมายเลข IP ของ arip.co.th ซึ่งปกติ DNS Server ที่คุณใช้ของ ISP และมันก็อาจเป็นไปได้ว่า DNS ของ ISP มีปัญหา วิธีทดสอบให้คุณป้อน IP address เพื่อกระโดดข้ามการติดต่อไปยัง DNS Server และเข้าไปโดยตรง เช่น http://74.125.224.72 จะเข้าไปที่เว็บไซต์ google.com เป็นต้น

 ถ้า การป้อน IP เข้าไปในบราวเซอร์ แล้วมันสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่ต้องการได้ คือเข้าไปยังเว็บไซต์ google.com นั่นก็หมายความว่า ปัญหาเกิดขึ้นกับ DNS ของ ISP (ถ้าคุณขี้เกียจรอ คุณสามารถใช้ DNS ของผู้ให้บริการอย่าง OpenDNS หรือ Google Public DNS แต่อาจจะทำยากสักหน่อยนะครับ)
ข้อเท็จจริงที่ควรทราบก็คือ ปัญหาส่วนใหญ่ของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ผู้บริโภคมักจะไม่สามารถแก้ไขได้ ด้วยตนเอง - -" บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ทำได้แค่รอให้ ISP แก้ปัญหาให้ อย่างไรก็ตาม การรีสตาร์ท"เราท์เตอร์"จะชวยแก้ปัญหาได้แล้ว ถ้ามันไม่ได้เป็นปัญหาที่ซีเรียสนัก แต่อย่างน้อยการเข้าใจที่มาของปัญหาในเบื้องต้นจะทำให้คุณรู้ว่า ควรจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใด ซึ่งดีกว่าการรอคอยเพียงอย่งเดียวอย่างแน่นอน
สนับสนุนเนื้อหา: Arip
ติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีรอบโลกได้ที่นี่ >>> www.hitech.sanook.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น