หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบปฏิบัติการ Linux




ระบบปฏิบัติการ Linux

       


          ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น

      ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆเช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำงิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ Linux Software Map (LSM)

     ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัต ิขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป
2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลอง หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของเคอร์เนล (Kernel) แล้ว
3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตามเว็บไซท์

     สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง

  1. คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
    • จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
    • ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง
    • ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI
    • มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่
  2. ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition
  3. ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI
  4. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI
  5. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
  6. จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์
  7. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ
  8. รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง
    • IP Address
    • Net Mask
    • GateWay Address
    • Name Server Address
    • Domain Name
    • Host Name


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น